ปัญหาภาวะโลกร้อนแก้ได้ ถ้าทุกคนหันมาใช้กระเป๋าผ้ามากกว่าถุงพลาสติก
ReadyPlanet.com
dot
ค้นหาแบบกระเป๋า

dot
dot
Main Menu
dot
bulletหน้าหลัก
bulletประเภทสินค้า
bulletติดต่อเรา
bulletแผนผังเว็บไซต์
dot
รายละเอียดการสั่งผลิตกระเป๋า
dot
bulletข้อมูลการสั่งผลิต
bulletขั้นตอนการสั่งผลิตงาน
dot
Bag Category
dot
bulletกระเป๋าเอกสาร / โน๊ตบุ๊ค
bulletกระเป๋าส่งของ Delivery Bag
bulletกระเป๋าผ้าใบ
bulletกระเป๋าสะพาย
bulletกระเป๋าใส่ iPad /Tablet
bulletซองกระเป๋าใส่โน๊ตบุ๊ค
bulletกระเป๋าหนังแก้ว
bulletกระเป๋าเป้สะพายหลัง
bulletกระเป๋านักเรียน/นักศึกษา
bulletกระเป๋าล้อลาก
bulletกระเป๋าเก็บเสื้อสูท
bulletกระเป๋าคาดเอว / คาดอก
bulletกระเป๋าเดินทาง
bulletกระเป๋าเก็บความเย็น
bulletกระเป๋าเก็บความร้อน
bulletกระเป๋าคุณแม่ลูกอ่อน
bulletกระเป๋าช้อปปิ้ง / กระเป๋า Tote Bag / กระเป๋าผ้า
bulletกระเป๋าผ้าดิบ
bulletกระเป๋าหูรูด
bulletกระเป๋าเที่ยวชายทะเล
bulletกระเป๋าพลาสติกใส
bulletกระเป๋าเก็บของใช้ส่วนตัว / กระเป๋าเครื่องสำอาง
bulletกระเป๋าเก็บสัมภาระในรถ
bulletกระเป๋ากีฬา / กระเป๋าฟิตเนส
bulletกระเป๋าใส่รองเท้า
bulletกระเป๋าพาสปอร์ต
bulletกระเป๋าสตางค์
bulletกระเป๋าดินสอ
bulletกระเป๋ายา
bulletกระเป๋าใส่เครื่องมือ
bulletกระเป๋าใส่นามบัตร / กระเป๋าใส่บัตร
bulletกระเป๋าใส่ขวดน้ำ
bulletกระเป๋าพับเก็บได้
bulletกระเป๋าใส่กุญแจบ้าน
bulletกระเป๋าใส่ Book Bank
bulletกระเป๋าอูคูเลเล่
bulletกระเป๋าจัดระเบียบ
bulletกระเป๋าปืน
bulletกระเป๋าใส่ไม้เทนนิส/ไม้แบดมินตัน
bulletกระเป๋าร้อยเข็มขัด
bulletกระเป๋าคล้องคอ
bulletกระเป๋าใส่ skateboard / surfskate
bulletกระเป๋าประเภทอื่นๆ
bulletถุงยังชีพ
bulletกล่องใส่ของนั่งได้
bulletกล่องใส่ของอเนกประสงค์


add line โรงงานผลิตกระเป๋า
add line โรงงานทำกระเป๋า



กระเป๋าผ้า...ช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ณ เวลานี้ คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ไม่รู้จักปรากฏการณ์สำคัญของโลกที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

ในปีที่ผ่านมา ภาคเหนือและภาคอีสานของประเทศไทยต้องเผชิญกับอากาศที่หนาวจัดมากกว่าหลายๆปีที่ผ่านมา ในขณะที่ภาคกลางก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนักอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน และภาคใต้ก็เจอกับสภาพอากาศและพายุที่รุนแรงมากขึ้น ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่กินระยะเข้ามาลึกมากขึ้นเรื่อยๆ  คงไม่ต้องบอกกันอีกรอบว่าตามที่วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์แห่งนิตยสารคดี บอกว่า ภาวะโลกร้อนได้มาเคาะประตูบ้านของเราแล้ว...

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์กว่า ๒,๕๐๐ คน จาก ๑๓๐ ประเทศ ได้พบข้อสรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุของปัญหาโลกร้อน นั้น ร้อยละ ๙๐ มาจากการที่ มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินไป จนความร้อนจากพื้นโลกไม่สามารถสะท้อนออกนอกโลกได้ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงไปทั่วโลก

ดังนั้นภารกิจที่เหล่ามนุษยชาติต้องรับผิดชอบร่วมกันก็คือ ลดการเผาผลาญเชื้อเพลิงและปล่อยก๊าซคารบอร์ไดออกไซด์ลงให้มากที่สุด เพื่อต่อเวลาให้กับโลกใบนี้ให้ยาวยิ่งขึ้น

ถุงพลาสติกที่เราใช้รองรับสินและอาหาร ผลิตจากเม็ดพลาสติก จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบการผลิตถุงพลาสติกสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ในปริมาณมาก และด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อนำมาใช้จะมีอายุการใช้งานสั้น และส่วนใหญ่เป็นการใช้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะถุงพลาสติกขนาดเล็กและบางถุงที่ผ่านการใช้งานแล้วและถูกนำไปทิ้งจะเป็นภาระในการเก็บเคลื่อนย้าย และจัดการเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณลักษณะที่เบาบาง มีปริมาณมาก และปะปนกับมูลฝอยประเภทอื่นๆ ซึ่งทำให้การย่อยสลายมูลฝอยเป็นไปได้ยากมากยิ่งขึ้น

ถ้าถามว่าลดใช้ถุงพลาสติกเกี่ยวอะไรกับโลกร้อน และเราคนเดียว ลด หรือ ไม่ใช้ ถุงพลาสติก จะเปลี่ยนแปลงอะไรได้? คำตอบคือ ได้

ต้นเหตุสำคัญคือ ร้อยละ 90 มาจากมนุษย์ สร้างกิจกรรมเผาผลาญเชื้อเพลิง ส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากเกินความสามารถของโลกที่จะสะท้อนความร้อนจากพื้นโลก ออกไปนอกโลกได้ทัน ผลคือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างรุนแรงทั่วโลก ซึ่งล้วนแต่เป็นผลกระทบระดับมหันตภัยทั้งสิ้น เช่น

• พายุหมุนที่เกิดถี่ และรุนแรงมากขึ้น
• ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
• สภาพอากาศที่แปรปรวน จนยากจะคาดเดา
• ฤดูกาล และวงจรการเกษตรเปลี่ยนแปลง
• โรคระบาดใหม่ๆ เป็นต้น

ความเกี่ยวโยงระหว่างการใช้ถุงพลาสติกกับโลกร้อนคือ ยิ่งมีการใช้ถุงพลาสติกมากเท่าไหร่ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก จากการเผาไหม้ในกิจกรรมการผลิต และเผาทำลายถุงพลาสติกก็จะยิ่งสูงมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหามากมายจากมลพิษ

ถุงพลาสติกมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งถุงพลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งทำให้เกิดมลภาวะทำให้โลกร้อน และการใช้ถุงผ้าจะช่วยลดการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง และหากทุกคนหันมาใช้ถุงผ้าเพียงสัปดาห์ละ 1 วัน จะช่วยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านถุง/ปี

ทั้งนี้ ปัจจุบัน (กันยายน 2550 ) กทม.ต้องเก็บขยะมากถึง 85,00 ตัน/วัน เป็นถุงพลาสติกถึงร้อยละ 21 หรือ 1,800 ตัน/วัน ดังนั้น หากเปลี่ยนมาใช้ถุงผ้าแทน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายการเก็บขยะได้วันละ 1.78 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 650 ล้านบาท/ปี



ข้อดีของการใช้ถุงผ้า

•  ซักทำความสะอาดได้โดยง่าย 
•  นุ่มสบายมือน่าใช้ และไม่ก่อให้เกิดการกดทับอย่างรุนแรงต่อฝ่ามือเท่ากับถุงพลาสติก 
•  ใช้ง่าย ขาดยาก ตกแต่งได้ตามสไตล์ที่ชอบ 
•  ย่อยสลายได้ ไม่ตกค้างจนเป็นปัญหาในสิ่งแวดล้อม 
•  ทนทานและใช้ซ้ำได้มากครั้งกว่าถุงพลาสติก 
•  ช่วยลดปริมาณมูลฝอย ไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 
•  ช่วยลดปัญหาโลกร้อน 
•  บ่งบอกภาวะรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ใช้ 
•  ใช้ถุงผ้าไปได้ทุกที่ ใส่ได้หลายอย่าง 
•  ใช้เป็นสื่อรณรงค์เสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในสิ่งแวดล้อมได้อย่างกว้างขวาง 
•  ถุงผ้าดิบจะช่วยลดการเกิดและการปนเปื้อนของสารประกอบไดอ๊อกซินที่เป็นสารก่อมะเร็งที่มีอันตรายต่อชีวิต 
•  พกพาติดตัวได้ง่าน และติดรถ พร้อมใช้งานในทุกโอกาส 
•  ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

หันมาเริ่มใช้ถุงผ้ากันตั้งแต่วันนี้ และแบ่งปันถุงผ้าที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เพื่อขยายวงกว้างของความพยายามลดก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน



ความจริงเกี่ยวกับพลาสติก
• ถุงพลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์สุดวิเศษ มีน้ำหนักเบา ในยุค 1960 ซึ่งพัฒนาขยายผลมาจาก เซลลูลอยด์ ที่สังเคราะห์ขึ้นจากความต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้าง ในการผลิตลูกบิลเลียดในช่วงปี 1868
• ถุงพลาสติกเป็นของใช้ยอดนิยมของคนทั่วโลก ปัจจุบันมียอดปริมาณการใช้ 5 แสนล้าน ถึงล้านล้านใบต่อปี หรือคิดเป็นจำนนเฉลี่ยทุก 1 นาทีมีการใช้ถุงหิ้วอย่างน้อย 1 ล้านใบ
 • และจำนวน 5 แสนล้านใบนี้ ต้องใช้พลังงานการผลิตจากน้ำมันจำนวน 9 พันล้านลิตร เทียบให้ชัดคือ พลังงานที่ใช้ผลิตถุงพลาสติก 8.7 ใบ สามารถเปลี่ยนไปเป็นน้ำมันให้รถวิ่งได้ไกล 1 กิโลเมตร
• ถุงพลาสติกเป็นของใช้ที่มีอายุการใช้งานสั้น พร้อมเป็นขยะได้ทันทีหลังการใช้ แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปีเป็นอย่างน้อย
• ถุงพลาสติกหูหิ้ว แม้จะเป็นชนิดที่นำไป Recycle ได้ แต่ปัจจุบันก็มีการนำกลับไป
Recycle จำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนที่ผลิตออกไป จากการสำรวจพบว่าทุกตารางกิโลเมตรทั่วโลกจะมีขยะพลาสติกราว 46,000 ชิ้น
• ทุกปีผู้คนจับจ่ายซื้อของทั่วโลกใช้ถุงพลาสติก 10,000 ล้านใบต่อปี ซึ่งจะต้องใช้เวลาย่อยสลาย นานกว่า 1,000 ปี
• ถุงพลาสติก 1.6 ล้านใบ นำไปเรียงเป็นเส้นรอบวงโลกได้ 1 รอบ
• ทุกๆ 1 ตารางไมล์ จะพบถุงพลาสติก 46,000 ใบลอยในมหาสมุทร ซึ่งส่งผลให้แต่ละปีมีนกทะเลตาย 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเลอื่นๆจำนวน 100,000 ตัว และปลาอีกนับไม่ถ้วน
• แต่ละปีมีเต่าทะเล และสัตว์น้ำจำนวนมาก ตายจากการกินพลาสติก เพราะคิดว่าเป็นอาหาร เช่น แมงกะพรุน
• ถุงพลาสติกที่คนไทยใช้ในหนึ่งปีนั้น ถ้าเอามาต่อกัน จะได้เป็นระยะทางเท่ากับ เดินทางไปกลับดวงจันทร์ 7 รอบเลยทีเดียว

ปัญหาจากการใช้ถุงพลาสติก

ประโยชน์เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาสั้นๆ ของถุงพลาสติกได้ทำให้เกิดโทษต่อระบบนิเวศและชีวิตของผู้บริโภคต่อเนื่อง กว้างขวางและยาวนานในแต่ละสัปดาห์ คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง หรือมากกว่า 5000 ล้านถุงในแต่ละปี การนำถุงพลาสติกไปใช้ซ้ำอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนอย่างมากโดยเฉพาะ การใช้ถุงพลาสติกใส่มูลฝอยจะทำให้เกิดการแปรสภาพมูลฝอยในภาวะที่ขาดอากาศ เป็นผลให้เกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อน

ถุงพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญดังนี้
•  การเสื่อมโทรมของดิน
•  การเสื่อมคุณภาพของน้ำ
•  เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ
•  เป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดก๊าซชีวภาพที่เป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ
•  ให้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อถูกเผา
•  ทำให้เกิดการอุดตันในทางระบายน้ำและอาจทำให้เกิดน้ำท่วม
•  เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
•  เป็นต้นเหตุของการเพาะพันธุ์และแพร่กระจายของพาหะนำโรคและการแพร่ระบาดของโรคร้ายหลายชนิด
•  เป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุของการเดินทางทั้งทางบก และทางน้ำและทางอากาศ

การผลิตออกมาใช้มีปริมาณมากและต่อเนื่อง ขณะที่การย่อยสลายต้องใช้เวลายาวนานทำให้เกิดการสะสมปริมาณถุงพลาสติกเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อลดและป้องกันปัญหาหลากหลายที่เกิดจากถุงพลาสติก จำเป็นต้องลดการใช้ ด้วยการใช้ทางเลือกในการรองรับและขนส่งสินค้าและอาหาร แทนการใช้ถุงพลาสติก เช่นการใช้ถุงผ้า หรือวัสดุอื่นที่ย่อยสลายได้ และสามารถใช้ได้ยาวนาน ผู้บริโภคจะสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย และลด-แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ถุงผ้า

การลดการใช้ถุงพาสติก

ถุงพลาสติกเป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากเพราะย่อยสลายได้ยาก และใช้เวลาเป็นร้อยๆปี วิธีการกำจัดถุงพลาสติกนั้น มีอยู่ 2 วิธี คือ

1. ฝัง : การฝังต้องใช้พื้นที่เยอะและพื้นที่นั้นก็จะทำการเกษตรไม่ได้อีกเลยเพราะพลาสติกไม่ย่อยสลาย

2. เผา : การเผานี้ ถ้าเผาไหมไม่สมบูรณ์ ก็จะมีก๊าซพิษออกมาด้วย แต่แม้ว่าจะเผาไหมสมบูรณ์ก็จะมีก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก็าซเรือนกระจก มีคุณสมบัติอมความร้อนและจะไปปกคลุมอยู่รอบโลก ทำให้โลกร้อนขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการเผาไหม้ก็ดูเหมือนไม่มีทางที่จะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ 100% ได้ ทำให้มีทั้งก๊าซพิษ และก๊าซเรือนกระจก

จะกำจัดอย่างไร อย่างไรก็เป็นผลเสียทั้งนั้น จึงควรต้องหันมาช่วยกัน ลด งด ใช้ถุงพลาสติก โดยการ

1. นำถุงผ้า หรือพาชนะไปใส่ของแทน แล้วก็พูดว่า "ไม่ต้องถุงก็ได้"  ตัวอย่างเช่น จะไปตลาดก็เอากระเป๋าผ้าและกล่องใส่อาหาร ไปใส่ของแทน ไปซื้อกับข้าวก็เอาปิ่นโตไปแทน ไม่ต้องเอาถุงพลาสติกทุกชนิด

2. ใช้ถุงกระดาษ ในต่างประเทศหรืออย่างเวลาเราดูหนัง การซื้อของกลับมาบ้าน จะใช้อุ้มถุงกระดาษเข้ามา ก็เพราะเขาไม่ต้องการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยากนั้นเอง ยังไงใช้ถุงกระดาษก็ยังดีกว่านะ อันนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากพ่อค้า แม่ค้า และห้างใหญ่ๆด้วย

3. ใช้ถุงพลาสติกแบบย่อยสลายได้ ถุงแบบนี้ความจริงมีมานานแล้ว  ถุงพลาสติกแบบนี้จะผสมสารย่อยสลาย ซึ่งก็จะแทรกตัวอยู่ในโมเลกุลของเม็ดพลาสติก สารย่อยสลายนี้เมื่อเจอกับแสดงแดดก็จะทำปฏิกิริยากับเม็ดพลาสติก ให้โมเลกุลแตกสลาย ถุงแบบนี้จะใช้เวลา 1 ปีในการย่อยสลาย โดยจะเห็นได้ว่า ความเหนียวของถุง จะลดลงเรื่อยๆ จนไม่เหลือเลย

มาตรการควบคุมการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ

จากความร้ายแรงของภัยถุงพลาสติก ทำให้หลายๆประเทศมีมาตรการคุมกำเนิดถุงพลาสติกกันอย่างจริงจัง จนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดี เช่น

• การประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกในประเทศบังคลาเทศ และประเทศออสเตรเลีย
• การเก็บภาษีถุงพลาสติกใน
ประเทศไอร์แลนด์
• การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกของ
ประเทศไต้หวัน
• การแขวนการ์ดไว้ที่แคชเชียร์ของห้างใหญ่ในเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ถ้าลูกค้าไม่ต้องการถุง ก็ยกการ์ดขึ้น แล้วจะได้รับแต้มสะสมเพื่อสิทธิประโยชน์จากทางห้างต่อไปด้วย
• ที่
ประเทศสิงคโปร์ ร่วมกันรณรงค์โดยกำหนดให้วันพุธแรกของเดือนเป็นวันพกถุงช้อปปิ้ง หากไม่ได้เตรียมถุงไปก็ต้องจ่ายเงินเป็นค่าถุง ใบละ 0.1 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 2.50 บาท
• เมืองซานฟรานซิสโก ออกกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติก นับเป็นเมืองแรกของ
ประเทศอเมริกา ประเทศที่ถือเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุด 
• การประกาศตัวเป็นเมืองปลอดถุงพลาสติกของเมืองลีฟเรปิดส์ ใน
ประเทศแคนาดา โดยผู้ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษเป็นค่าปรับหนักๆ คิดเป็นเงินไทยมากถึง 30,200 บาท
• ส่วนในบ้านเรายังเป็นการรณรงค์ในลักษณะประปราย ที่เคยจัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ๆ ก็เมื่อช่วง 2-3 ปีก่อน จากนั้นกระแสก็ซาไป และกลับมาคึกคักอีกครั้งในปีนี้ และที่น่าจะเป็นความหวังคือการพัฒนาวัสดุทดแทน “พลาสติกชีวภาพ” (bioplastic) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษา ไม่แน่ว่าบ้านเราอาจจะมีพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้ พร้อมๆ กับ
ประเทศที่ฝรั่งเศส ซึ่งออกกฎระเบียบให้เริ่มใช้พลาสติกชีวภาพ ในปี 2553

ทั้งหมดนี้เป็นทั้งแนวคิดและแรงกระตุ้นให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในบ้านเรา ทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะซุปเปอร์สโตร์ข้ามชาติที่มีสาขาทั่วประเทศ และกำลังซื้อจากลูกค้ามหาศาล ร้านสะดวกซื้อขนาดย่อมที่กระจายอยู่แทบทุกซอยในกรุงเทพ และตัวเมืองของทุกจังหวัด จับมือกันสร้างกระแสนี้ให้เป็นจริงในเมืองไทย จะให้เรื่องนี้เป็นเรื่องใกล้ๆ ตัวที่เราทำได้ หรือจะปล่อยให้เป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวที่เราไม่เคยคิดจะทำ คำตอบอยู่ที่ใจคุณ

ขอบคุณเกร็ดความรู้ดีๆที่ได้ครั้งนี้จาก Sanook.com

 





ความรู้เรื่องกระเป๋า

ปฐมพยาบาล อาการซิปติดเบื้องต้น
เลือกใช้กระเป๋าแบบไหน บอกนิสัยของคุณได้
จัดกระเป๋าแบบมืออาชีพ
เลือกซื้อกระเป๋าที่มีสีถูกโฉลกตามวันเกิด article
การดูแลรักษากระเป๋าหนังแท้ article
เคล็ดลับจัดกระเป๋า ไม่ให้เสื้อผ้ายับ article
แก้ปัญหาเรื่องกลิ่นอับในกระเป๋า article
วิธีเลือกกระเป๋าให้เหมาะกับรูปร่างของสาว article
วิธีการเลือกซื้อกระเป๋าถือให้ถูกใจ article
วิธีการดูแลรักษากระเป๋าหนังขั้นพื้นฐาน article